วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

สิทธิในการรับมรดก

สมบัติ
                                           
สิทธิในการรับมรดก

๑.  ทรัพย์มรดก
           ๑.๑  ทรัพย์มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมาย 
หรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๐๐)
           ๑.๒  หลักการแบ่งปันทรัพย์มรดก
                    (๑)  ถ้าผู้ตายมีคู่สมรสยังมีชีวิตอยู่ ให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก่อน(ป.พ.พ มาตรา ๑๖๒๔, ๑๕๓๓)
                    (๒)  เมื่อแบ่งระหว่างสามี ภรรยาแล้ว ส่วนของผู้ตาย คือ ทรัพย์มรดกที่จะต้องนำไปแบ่งปันระหว่างทายาท 
(ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๒๖)
๒.  มรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม
            เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาททันที ซึ่งตามกฎหมาย
เรียกว่า ทายาทโดยธรรม อันประกอบด้วยญาติและคู่สมรส ญาติของผู้ตาย มิใช่ทุกคนที่จะมีสิทธิได้รับมรดก เพราะกฎหมาย
ได้บัญญัติให้ญาติที่สนิทสนมกับผู้ตายเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับมรดก โดยญาติที่สนิทที่สุดได้รับมรดกไปก่อน ส่วนญาติที่สนิท
รองลงมาจะมีสิทธิได้รับมรดกก็ต่อเมื่อญาติสนิทในลำดับต้นไม่มี ส่วนคู่สมรสนั้นจะมีสิทธิได้รับมรดกเสมอตามส่วนมากน้อย
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่ทั้งนี้คู่สมรสนั้นต้องเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย กล่าวคือ ต้องได้รับจดทะเบียนสมรสนั่นเอง
๓.  ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
                    ๑.  ผู้สืบสันดาน คือ ลูกหลาน เหลน ลื้อ
                    ๒.  บิดามารดา
                    ๓.  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
                    ๔.  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมาดาเดียวกัน
                    ๕.  ปู่ ย่า ตา ยาย
                    ๖.  ลุง ป้า น้า อา
                    ๗.  คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฏหมาย
๔.  การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ
           ๔.๑  ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่างๆ หลายชั้น เช่น อาจจมีลูก พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เช่นนี้แล้ว 
ทายาทดดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรองลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
           ข้อยกเว้นที่ทำให้ทายาทโดยธรรมในลำดับหลังมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ได้แก่ กรณีผู้ตายมีผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาท
โดยธรรมในลำดับที่ ๑ และมีบิดามารดาซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่  ๒ กรณีเช่นนี้ บิดามารดาตัดไปโดยกฎหมาย
บัญญัติให้บิดามารดานั้นมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเหมือนเป็นบุตรของผู้ตายคนหนึ่ง
            ตัวอย่าง นาย ก. มีเงินอยู่ก่อนตายจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท นาย ก. มีบุตร ๒ คน คือนายเขียวและนายขาว และมีบิดา
มารดาซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ๒ คน คือนายสี และนางสม นอกจากนี้ นาย ก. ยังมีปู่ ย่า ตา ยาย และมีลุง ป้า น้า อา ซึ่งยังมีชีวิตอยู่
ทุกคน กรณีเช่นนี้เมื่อ นาย ก. ตาย โดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้เงินมรดกจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท จะตกทอด ได้แก่
            นายเขียว และนายขาว ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๑ และตกทอดได้แก่ นายสีและนางสม ในฐานะที่เป็น
ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๒ ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าเป็นบุตรคนละเท่าๆ กัน คือ ๑๐,๐๐๐ บาท
            ส่วน ปู่ ย่า ตา ยาย และ ลุง ป้า น้า อา ของนาย ก. เป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๕ และลำดับที่ ๖ ไม่มีสิทธิได้รับมรดก
ของนาย ก. เพราะเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับหลังนายเขียว นายขาว ผู้สืบสันดาน และนายสี นางสม บิดามารดาของนาย ก.
                     ๔.๒  กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม
คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกเสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กล่าวคือ
                              (๑)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ ๑ คือ ผู้สืบสันดาน และมีคู่สมรส กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับ
มรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้ตาย
             ตัวอย่าง  นาย ก. มีเงินอยู่ก่อนตาย จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท มีบุตร ๑ คน คือนายดำ และมีภริยา คือ นางสวย
เมื่อนาย ก. ตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกทอดได้แก่ นายดำ และนางสวยคนละเท่าๆ กัน คือ ๑๐,๐๐๐ บาท
                               (๒)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดันที่ ๓ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรม
ในลำดับที่ ๒ คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณี เช่นนี้ คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
              ตัวอย่าง  เจ้ามรดกมีมรดก ๖๐๐,๐๐๐ บาท มีบิดามารดา ๒ คน มีภริยาเงินมรดกจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จะตกทอด
ได้แก่ ภริยาจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท และตกทอดแก่บิดา มารดาคนละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
                                (๓)  ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๔ คือ พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือ มีทายาท
โดยธรรมลำดับที่ ๕ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๖ ลุง ป้า น้า อา และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้
คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก ๒ ใน ๓ ส่วน
               ตัวอย่าง  เจ้ามรดกมีบุตร ๑ คน  คือ  ดำ  และมีหลาน ๑ คน คือ  ขาว มีทรัพย์มาดก  ๔๐๐,๐๐๐ บาท  ดำตายหลังเจ้า
มรดก  มรดกจะตกได้แก่ดำทั้งหมด  คือ  ๔๐๐,๐๐๐  บาท  แต่ปรากฏว่าดำตายก่อนเจ้ามรดก  มรดกส่วนนี้จึงตกได้แก่  ขาว
ซึ่งเป็นหลานโดยการรับมรดกแทนที่
                      ๔.๕  ทายาทโดยธรรมในลำดับที่  ๑  คือ  ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร บุตรซึ่งจะมีสิทธ์ได้รับมรดกจะต้องเป็น
บุตรในกรณีดังต่อไปนี้  คือ
                                (๑)  บุตรที่ชอบด้วยกฏหมาย  ได้แก่  บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน  ซึ่งจะเป็นบุตรที่ชอบ
ด้วยกฏหมายทั้งของบิดาและมารดา  ถ้ามิได้จดทะเบียนสมรสกัน  บุตรนั้นจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายเฉพาะของมารดา
เท่านั้น  (ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๖) และบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายขอ
บิดาก็ต่เมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกัน  หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของตน  หรือมีคำพิพากษาว่า
บุตรนั้นเป็นบุตรของบิดา  (ป.พ.พ. มาตรา ๐๕๔๗)
                                 (๒)  บุตรบุญธรรม  ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฏหมายแล้ว
(ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๙๘/๒๗)
                                  (๓)  บุตรนอกกฏหมายที่บิดารับรองแล้ว  เช่น  ชาย หญิงได้เสียกันและคลอดบุตรต่อมาชายรับเด็กไปเลี้ยง
ดูให้การศึกษาให้ใช้นามสกุลกรอกแบบเสียภาษีเงินได้    ภงด.๙     ว่าเป็นบุตรและเบิกเงินช่วยค่าเล่าเรียนบุตร 
 (ฎีกาที่ ๖๔๙/๒๕๐๐) 
                                   -  นำหญิงไปคลอดที่โรงพยาบาล หมั่นไปเยี่ยมและรับกลับบ้าน  จนกระทั่งขอให้แพทย์ประจำตำบลตั้งชื่อ
เด็กที่คลอดให้  (ฎีกาที่ ๕๓๕/๒๕๐๙)  
                                    -  อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา (ฎีกาที่ ๔๓๖/๒๕๑๘)
                           -  บิดามีพฤติการณ์รับรองทารกในครรภ์ว่าเป็นบุตร    โดยวิธีจัดงานเลี้ยวฉลองการตั้งกครรภ์  
(ฎีกาที่ ๑๔๖๙/๒๕๒๖)    
                           ๔.๖  ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน  หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดกันตามกฏหมาย  กรณีเช่นนี้  ทั้งสามีและ
ภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน  โดยกฏหมายถือว่ายังเป็นสามีภริยากันอยู่นั่นเอง  (ป.พ.พ.  มาตรา  ๑๖๒๘)
                     ๔.๗  ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม  แต่บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตร
บุญธรรม  และมีสิทธิได้รับมรดกของบิดามารดาเดิมด้วย (ป.พ.พ. มาตรา  ๑๕๙๘/๒๙)  ประกอบ  มาตรา ๑๕๙๘/๒๘)
                             ตัวอย่าง  นาย ก.  จดทะเบียนรับนาย ข.  เป็นบุตรบุญธรรมของตน  ต่อมานาย ก . ตายมรดกทั้งหมดของ
นาย ก.  ตกทอดได้แก่  นาย ข.  แต่ถ้านาย ข.  บุตรบุญธรรมตาย  นาย ก. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของนาย ข.
                             ถ้ากรณีที่นาย  ข. บิดามารดาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฏหมาย  ถ้าบิดามารดาของนาย ข. ตาย กรณี
เช่นนี้  นาย ข. มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาตนเอง  และในกรณีกลับกัน  ถ้านาย ข. ตาย  บิดามารดาดังกล่าวก็มีสิทธิได้รับมรดก
ของนาย  ข.
                               ๔.๘  บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส  ของผู้รับบุตรบุญธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญ
ธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย  
                               ๔.๙  ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลยและผู้ตายก็มิได้ทำพินัยกรรมไว้กรณีเช่นนี้  มรดกจะตก
ทอดได้แก่แผ่นดิต  (ป.พ.พ.  มาตรา ๑๗๕๓)

เข้าดูมากที่สุด 7 วันที่ผ่านมา