การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ปรากฏการณ์ “14 ตุลา” เป็นการสั่งสมของความกดดันของการเมืองไทย ที่อยู่ใต้ ระบบเผด็จการ มาเป็นเวลายาวนาน มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้วฉีกทิ้งทำลาย สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีพึงได้ถูกปฏิเสธและเหยียบย่ำ อำนาจการเมืองการปกครองก็ตกอยู่ในมือของคณาธิปไตยเพียงไม่กี่คน ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกของรัฐ ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนเป็นเครื่องมือ
ขณะเดียวกัน การเร่งรัด การพัฒนาไปสู่ความทันสมัยตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับการแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ ยุคสงครามเย็น รัฐไทยยังได้ผูกมัดตัวเองอยู่กับค่ายโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อบินไปทิ้งระเบิดในอินโดจีน การต่อต้านและปราบปรามคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตาม ในสมัยที่บ้านเมืองขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ความไม่พอใจในสภาวะที่เป็นอยู่และ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ก็ได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ เครือข่ายของกลุ่มปัญญาชนคนหนุ่มสาวค่อย ๆ เกิดความตื่นตัวทางปัญญา เริ่มตั้งคำถามต่อตัวเองและสังคม ทำให้ตระหนักในบทบาทและศักยภาพของตน และกลายเป็นพลังในการตอบโต้และเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจในที่สุด
16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ
กระทั่งเมื่อเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ สุกงอม โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของเครือข่ายนักศึกษาปัญญาชนและผู้ที่ไม่พอใจในระบอบเผด็จการทหาร จนมีการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามมาด้วยการจับกุม “๑๓กบฏ” การหลอมรวมพลังทางการเมืองครั้งสำคัญของสังคมไทยจึงเกิดขึ้น ระเบิดเป็นเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา” ที่จะต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ประชาชนไทยตลอดไป
เหตุการณ์ 14 ตุลา :: จาก wikipedia
นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
การจลาจล
การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
ในวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2516 เวลา 19.15 น.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีกระแสพระราชดำรัสพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยทั้งประเทศและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ผ่านทางโทรทัศน์ ณ หอตึกสมุด สวนจิตรลดา มีความว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีกระแสพระราชดำรัสพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยทั้งประเทศและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ผ่านทางโทรทัศน์ ณ หอตึกสมุด สวนจิตรลดา มีความว่า
" วันนี้เป็นวันมหาวิปโยคที่น่าเศร้าสลดอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตลอดระยะเวลา 6 - 7 วันที่ผ่านมา ได้มีการเรียกร้องและการเจรจากัน จนกระทั่งนักศึกษาและรัฐบาลทำข้อตกลงกันได้ แต่แล้วการขว้างระเบิดขวด และยิงแก๊สน้ำตาทำให้เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บหลายคน ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั่วพระนครถึงขั้นจราจล และยังไม่สิ้นสุด มีคนไทยด้วยกันเสียชีวิตนับร้อย ขอให้ทุกฝ่ายทุกคนจงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้งเพื่อให้ชาติบ้านเมืองคืนอยู่ในสภาพปกติ
อนึ่ง เพื่อขจัดเหตุร้ายนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อค่ำวันนี้ ข้าพเจ้าจึงแต่งตั้งให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนเพื่อให้คณะรัฐบาลใหม่สามารถบริหารงานแผ่นดินได้โดยมีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมและแก้ไขสถานการณ์ให้คืนอยู่ในสภาพเรียบร้อยได้โดยเร็ว ยังความสงบสุขความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่ประเทศและประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน "
พระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในเหตุการณ์ 14 ตุลา
" ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความห่วงใยเป็นที่สุดในการที่เกิดความไม่สงบขึ้นในขณะนี้ ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่านทั้งปวงให้ระงับการใช้กำลังเสียเถิด ด้วยเราก็เป็นชาวพุทธด้วยกันทั้งนั้นขอให้มีความเมตตากรุณาต่อกัน หันหน้าเข้าหากันเพื่อความสุขของตัวท่านและลูกหลานของท่าน การตั้งตัวเป็นศัตรูต่อกันนั้น นำมาซึ่งความหายนะ ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใดทั้งสิ้น ขอให้ท่านทุกคนระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และข้าพเจ้าขออธิษฐาน ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ท่านทุกคนปรับตนเองให้ได้ ให้ความสงบมีขึ้นโดยเร็วเพื่อความสุขความเจริญของท่านเอง สวัสดี "
ยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๖
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี
การยุบสภา มีผลมาจากภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค (๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖) ได้มีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งานายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่ง ในขณะนั้นได้มีการดำเนินการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ของสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่าได้มีกลุ่ม นักศึกษาและประชาชนได้เคลื่อนไหว และทำหนังสือส่งถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดดังกล่าว ให้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลแต่งตั้งสมาชิกชุดใหม่ขึ้น ทำให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ทยอยขอลาออกจากตำแหน่งจนเหลือเพียง ๑๑ คน ซึ่งไม่เพียงพอที่จะเป็นองค์ประชุมได้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๖