ผมนั่งคิดเรื่องของ "ความรุนแรง" มาพักใหญ่ โดยลองคิดดูว่าถ้าคนๆ หนึ่งมีชีวิตอยู่ในเมืองไทยมาสักพัก เขาจะมี "มุมมองและประสบการณ์" ที่เกี่ยวข้องกับ "ความรุนแรง" มากน้อยต่างกันอย่างไร
แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้บ้าง?
อาทิ คนที่มีชีวิตมาหกสิบกว่าปีผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาหลายครั้ง หรือคนที่เพิ่งมีอายุสักยี่สิบปี เป็นต้น
ลองยกตัวอย่างเรื่องแรกก็คือ การที่เราชอบพูดเรื่อง "สงครามกลางเมือง" ว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ จะต้องมีการฆ่ากันในเมืองแน่ๆ ซึ่งผมเองนั้นไม่ค่อยเชื่อในเรื่องนี้เท่าไหร่ ด้วยว่าเมื่อพูดถึงสงครามกลางเมืองนั้น เราอาจจะหมายถึงการต่อสู้ที่เป็นการเผชิญหน้าของกลุ่มผู้คนที่มีการรวมตัวอย่างเป็นระบบในระดับหนึ่ง หรือมีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ แต่สงครามกลางเมืองน่าจะหมายถึงอะไรที่มีการต่อสู้กันอย่างสมน้ำสมเนื้อสักหน่อย ไม่ได้แพ้ชนะกันง่ายๆ หรือถูกเขาทุบเอาฝ่ายเดียว
ผมจึงไม่แน่ใจว่าสงครามกลางเมืองนั้นเคยเกิดในสังคมไทยจริงๆ หรือถ้าจะเกิดในสังคมไทย ก็จะมีกลไกที่พยายามผลักดันว่าสิ่งที่น่าจะเรียกสงครามกลางเมืองนั้นเป็นการผลักดันขึ้นจาก "มือที่สาม" หรือจาก "คนภายนอก" สังคมมากกว่า
พูดยากครับว่าบ้านเราเข้าใจเรื่องของสงครามกลางเมืองจริงๆ หรือห่วงใยกับเรื่องสงครามกลางเมืองจริงๆ ผมห่วงแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็น "อาชญากรสงคราม" หรือ "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" เสียมากกว่า แถมยังสามารถปล่อยให้เกิดขึ้นได้อีกต่างหาก เพราะว่าเมื่อพูดถึง "สงคราม" จริงๆ แล้ว การที่เราระบุว่าคนอีกฝ่ายเป็น "ศัตรู" นั้น มันย่อมมีความหมายในระดับหนึ่งของการเห็นว่าศัตรูของเราหรือคู่ขัดแย้งของเรามีอำนาจ และมีพลังบางอย่าง หรือหมายถึงการ "เกรง" กันบ้าง ไม่ใช่มองไม่เห็นพวกเขาในฐานะคู่ขัดแย้งที่เราพร้อมจะสู้กับเขา หรือแม้กระทั่ง "กลัว" เขาบ้าง
ขณะที่อาชญากรสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นเป็นเรื่องของการจัดการฝ่ายเดียวเสียมากกว่า และโดยเฉพาะจัดการอย่างเป็นระบบ อย่างทันสมัย โดยผู้นำที่คิดค้นและสื่อสารกับผู้สนับสนุนมาเป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่สองของเรื่องความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองก็คือ การที่เราชอบพูดว่า ถ้าไม่ทำอย่างนั้นจะเกิดความรุนแรง หรือจะมีการนองเลือดแน่ๆ ตรงนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าเวลาที่เราพูดหรือให้เหตุผลในเรื่องนี้ เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่า ความรุนแรงและการนองเลือดนั้นเป็นสิ่งที่คู่ขัดแย้ง หรือ คู่สนทนาของเราเขารู้สึกไหมว่ามันเป็นเรื่องที่เขากังวล หรือหวาดกลัว
ผมคิดว่าสังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมที่กลัวการนองเลือดสักเท่าไหร่ สังคมที่กลัวการนองเลือดน่าจะเป็นสังคมที่เคารพความเป็นมนุษย์ของคนอื่น แต่สิ่งที่เราพบเห็นทุกวันก็คือการลดทอนความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะส่วนสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ และการลดทอนความเป็นมนุษย์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอาจไม่รู้สึกว่ามีเรื่องของความรุนแรงอยู่ในเรื่องราวทั้งหมด
เพราะเรามักจะชอบมองแบบแบ่งง่ายๆ ว่า ความรุนแรงนั้นเป็นปริมณฑลทางกายภาพ คือถ้าไม่มีความเสียหายในเรื่องทรัพย์สิน ร่างกายแล้วก็ให้ถือว่ายังไม่รุนแรง (บางทียังกล้าพูดด้วยว่าเป็นเรื่องของ สันติ อหิงสา) ทั้งๆ ที่เราสามารถพูดเรื่องความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง ในความหมายของการพรากจากของคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะบางอย่างไปจากเราโดยที่เราไม่ยินยอม หรือตกอยู่ในสภาวะของการไม่มีอำนาจที่จะต้านทาน ต่อรอง หรือการกระทำดังกล่าวไม่ขึ้นกับเจตจำนงของเรา
รวมทั้งการพูดถึงความรุนแรงในฐานะการพรากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเรา ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว รวมทั้งเรื่องที่ได้ประสบพบเห็นมาโดยตลอด ในกรณีของการใช้ถ้อยคำหยาบคายและเต็มไปด้วยการลดทอนความเป็นมนุษย์ รวมไปถึงการเหยียดเพศ
นอกจากนี้แล้ว ความรุนแรงนั้นอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะของการทำให้เราสยบยอมต่ออำนาจได้ด้วย อาทิ เรารู้สึกว่ามันมีบรรยากาศบางอย่างที่เราไม่อยากจะเสี่ยง หรือไม่คุ้มที่จะเสี่ยง เราจึงยอมจำนนกับบรรยากาศแห่งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เพราะว่ามันทำให้เกิดความกลัวในจิตใจของเรา
เรื่องนี้จะว่าไปแล้ว ผมว่าโยงเข้าสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้นกว่านั้น นั่นก็คือเรื่องของการรัฐประหาร ซึ่งบางคนมองว่ารัฐประหารนั้นเป็นความรุนแรงแบบหนึ่ง ในขณะที่บางคนพยายามอย่างสุดจิตสุดใจที่จะแยกให้เห็นว่ารัฐประหารนั้นไม่ได้รุนแรงอะไร และมีไว้เพื่อสกัดยับยั้งความรุนแรงที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตอีกต่างหาก
เรื่องนี้อาจต้องขยายความต่อไปว่า ความรุนแรงที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้นอาจจะเป็นเพราะรัฐนั้นล้มเหลวที่จะระงับความรุนแรงในฐานะที่รัฐนั้นเป็นกลไกเดียวที่จะมีความชอบธรรมในการผูกขาดและใช้ความรุนแรง และที่สำคัญหัวใจของเรื่องก็อยู่ที่รัฐนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพเอง หรือรัฐนั้นอาจ "ขาดความชอบธรรม" ในการใช้ความรุนแรงในการระงับความรุนแรง
แต่ถ้ามองในอีกด้านหนึ่ง การปล่อยให้ทหารนั้นใช้ความรุนแรงได้ ทั้งในแง่กายภาพหรือการแสดงแสนยานุภาพนั้น ก็เป็นการแยกทหารออกจากรัฐบาล ทั้งที่ทหารเป็นหนึ่งในกลไกรัฐอยู่ดีมิใช่หรือ?
กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเราพูดว่าเรื่องอะไรจะรุนแรงหรือไม่รุนแรง นั้นบางทีเราอาจจะนึกไปถึงจินตภาพว่าด้วยเรื่องของความรุนแรงที่แต่ละคนอาจมีไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเรื่องของความรุนแรงทางกายภาพ ความรุนแรงในฐานะปฏิบัติการทางอำนาจที่ขัดขวางเจตจำนงของเรา หรือจำกัดทางเลือกของเรา
และสุดท้ายก็คือมิติความรุนแรงในแง่ของการกระทำต่อความเป็นมนุษย์ของเราด้วยนั่นเอง
เพิ่มเติมในหัวข้อนี้ อาจจะไปถึงเรื่องที่ว่าความรุนแรงอาจจะมาในลักษณะที่ซับซ้อนโดยพยายามสร้างภาพของการไม่รุนแรง ทั้งที่เป็นความรุนแรงยิ่ง อาทิ การใช้ชื่อปฏิบัติการเช่น "การกระชับพื้นที่" ที่ให้ความสำคัญกับการขอพื้นที่คืน ทั้งที่ในพื้นที่นั้นมีผู้คนอยู่ในนั้น และในแง่นี้ก็จะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ในแง่ของการพูดถึงการใช้กฎหมายประเภทกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึก ที่ในปัจจุบันมีผู้มองว่าเป็นความรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้ชุมนุม เราจึงเห็นตัวการใช้ว่าจะเป็นผลสำเร็จก็เมื่อต้องประดิษฐ์คำบางคำที่ทำให้เราหลงลืมคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่จะต้องเคารพรักษาไว้ดังเช่นกรณีการกระชับพื้นที่ที่มีคนตายนั่นเอง และอาจเป็นไปได้ว่าต่อให้มีชีวิตมานาน ถ้าถูกครอบงำโดยวาทกรรมที่ทำให้ความรุนแรงดูไม่รุนแรงมาโดยตลอด เขาอาจมองไม่เห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเลยก็ได้
ตัวอย่างที่สามในเรื่องของความรุนแรงกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะข้ออ้างในเรื่องของการเลือกตั้งที่ส่อแววจะนำไปสู่ความรุนแรง ดังนั้นก็ควรจะเลื่อนไปซะ ทั้งที่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดนั้นจะพบว่า การเลือกตั้งกับความรุนแรงแม้ว่าจะสัมพันธ์กัน แต่เรื่องสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความสัมพันธ์ในแบบที่เป็นเหตุเป็นผลอย่างง่ายๆ เหมือนที่พยายามจะอ้างอิงที่จะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
หากแต่หัวใจสำคัญก็คือเรื่องของความเชื่อที่ว่าผลของการเลือกตั้งนั้นย่อมไม่เป็นไปตามที่ฝ่ายตนต้องการต่างหาก
กล่าวคือ ถ้าข้อกังวลเรื่องของการเลือกตั้งที่เกิดจากการซื้อสิทธิขายเสียง หรือการทุจริตจริง ดังเช่นเหมือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผ่านวาทกรรม "คนโกงไม่ใช่กูและพวกกู" ของพรรคประชาธิปปัตย์เป็นความจริง การแข่งขันเลือกตั้งนั้นย่อมจะต้องมีในลักษณะของการส่งเสริมให้มีการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง และทำให้การเลือกตั้งเป็นสำนึกของประชาชนว่าจะต้องไม่ซื้อไม่ขายเสียง และยิ่งจะต้องเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าเชื่อว่าการเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่จะสรรหาบุคลากรทางการเมืองได้ ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่ไม่ดี ก็จะต้องไปจัดการกับกระบวนการให้มันบริสุทธิ์ยุติธรรม แต่ครั้งนี้อาจจะถือเป็นการยอมรับจริงๆ ว่าการเลือกตั้งที่วางอยู่บนหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงนั้นไม่สามารถใช้ได้ และไม่ใช่เรื่องของการซื้อเสียงที่ทำให้ใช้ไม่ได้
แต่เป็นเพราะเรื่องนโยบายที่ไม่สามารถทำได้ และจะเป็นว่าการจัดการระบอบยิ่งลักษณ์-ทักษิณในวันนี้ก็มุ่งไปที่เรื่องของโครงสร้างทางนโยบายที่ทำให้ต้องถามคำถามที่ใหญ่ขึ้นว่า ตกลงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสามารถทำนโยบายอะไรได้บ้าง
นอกจากนี้แล้ว หากมองว่าการเลือกตั้งไปก็จะไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้กับสังคมได้จริง ก็ต้องถามว่าคณะกรรมการเลือกตั้งชุดนี้มีความเข้าอกเข้าใจในเรื่องของการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่ขาดหายไปนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องของการยืนยันว่า สามารถจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่าเป็นการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (free and fair election)
หากแต่เป็นเรื่องของการพูดถึงการทำให้การเลือกตั้งเป็นคุณค่าที่มีความหมาย (meaningful) ต่อสังคมประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้ก็ไม่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถที่จะเผยแพร่ความหมายดังกล่าวออกไปต่อสังคม รวมทั้งสื่อสารกับกลุ่มที่ต่อต้านการเลือกตั้งในวันนี้แม้สักครั้งเดียว
กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้งไม่ได้เป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดความรุนแรง หากเราเชื่อมั่นในการบริหารการเลือกตั้ง แต่คำถามนั้นอยู่ที่ว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่ความรุนแรงหากมีคนที่ไม่เชื่อถือศรัทธาในกระบวนการเลือกตั้ง และผลของการเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของการแทรกแซงการเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะรู้ว่าตนจะแพ้ในการเลือกตั้งเสียมากกว่า
ตัวอย่างสุดท้ายที่จะละเลยไม่ได้นั่นก็คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ซึ่งมีทั้งในสองด้านคือการที่การชุมนุมนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรงในความหมายกว้าง ดังที่อภิปรายความหมายไปแล้ว และเห็นชัดต่อเรื่องของการกดดันเพื่อไม่ให้ข้าราชการนั้นให้บริการสาธารณะกับประชาชนได้
แต่ในอีกด้านที่ต้องทำความเข้าใจกันก็คือเรื่องของการที่เกิดความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเอง โดยเฉพาะจากเหตุการณ์การระเบิดและลอบยิงต่างๆ
สิ่งที่เราไม่ค่อยได้ศึกษากันก็คือเรื่องของความรุนแรงแบบนี้นั้นจะถือว่าเป็นความรุนแรงจากรัฐหรือจากเอกชน? ในความหมายที่ว่า ถ้าเราเชื่อว่าฝ่ายรัฐนั้นทำก็เป็นเรื่องที่จะกล่าวหาไปว่านี่คือส่วนที่เป็นกลไกลับของรัฐ
หรือถ้าเรามองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นของเอกชน หรือการ "จ้าง" มาทำนั้นบางทีก็เป็นเรื่องที่คิดง่ายเกิดไป จนไม่เข้าใจถึงวิวัฒนาการของการสร้างความเป็นเอกชนของความรุนแรง (the privatization of violence) ซึ่งในความเป็นจริงเราอาจจะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง เช่น เราเชื่อว่าความรุนแรงนั้นเกิดจากกลุ่มคนที่ไม่ใช่รัฐ แต่สามารถใช้ความรุนแรงได้ อาทิ เจ้าพ่อ หรือเรากำลังต้องพิจารณาว่าในความเป็นจริงนั้น ผู้ที่สามารถใช้ความรุนแรงในสังคมไทยนั้นย่อมมีความเชื่อมโยงทางใดทางหนึ่งกับรัฐ แม้ว่าอาจจะไม่ได้รับฟังคำสั่งตรงจากรัฐบาล หรืออาจจะไม่ได้ขึ้นต่อรัฐบาล แต่เขาอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเข้าถึง หรือหลบหลีก (ในความหมายของการเข้าถึง หรือได้รับการยกเว้น) การตรวจสอบจากรัฐได้
ดังนั้น หากเรื่องราวของความรุนแรงไม่ใช่แค่เป็นเรื่องขององค์กรลับ เรื่องของเจ้าพ่อ การปล้นปืน หรือการได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ สิ่งที่เราจะต้องศึกษาก็คือลักษณะของความไม่สามารถของรัฐเองในการควบคุมกลไกส่วนต่างๆ ของรัฐที่กระจัดกระจายออกไปและถืออาวุธได้ กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึงรัฐที่ผูกขาดความรุนแรง เราอาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับรัฐไทยโดยตรงไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจพลวัตของตำรวจที่มีหลายหน่วย ทหารที่มีหลายหน่วย และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ ที่สามารถถืออาวุธได้เช่นกัน
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านประวัติศาสตร์ว่าในช่วงของสงครามการปราบปรามคอมมิวนิสต์เองนั้น ทหารก็มีบทบาทต่อความมั่นคงภายใน (คือทำหน้าที่เหมือนตำรวจ) และตำรวจเองก็มีหน่วยงานในลักษณะกองทัพเช่นกัน และอะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสงครามเย็นสงบลง และเมื่อการบริหารงานประเทศนั้นเปลี่ยนมือจากทหารสู่พลเรือน (ซึ่งอาจไม่ได้หมายความง่ายๆ ในกรอบของว่าทหารถูกพลเรือนคุม แต่อาจหมายถึงการที่พลเรือนอาจจะให้อิสระกับทหารในการบริหารกันเองในระดับหนึ่ง หรืออาจรวมไปถึงการที่บุคลากรในกองทัพจำนวนหนึ่งได้ผันตัวเองออกมาเกี่ยวข้องกับการเมือง และการบริหารจัดการท้องถิ่น เหมือนดังที่เราเห็น "ฉายา" คำว่า "เสธ." โน่นนี่ในการเมืองและความเกี่ยวพันกับความรุนแรงรายวันของท้องถิ่น ขณะที่เดิมเรามีแต่ฉายา "บิ๊ก" ให้กับทหารที่มีบทบาทกับการเมืองระดับชาติ)
กล่าวอีกอย่างก็คือ การสร้างความเป็นเอกชนต่อความรุนแรงนั้นก็เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงในมิติที่ไม่ใช่รัฐ (non-state security) แต่คำว่าไม่ใช่รัฐนี้อาจไม่ได้หมายถึงหลุดออกไปจากรัฐเสียทีเดียว แต่อาจหมายถึงการสร้างความมั่นคงต่อตัวเราและทรัพย์สินของเรา
ทีนี้หากเราเอามิติทางชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง เราอาจจะลองตั้งคำถามใหม่ๆ ว่า กระบวนการสร้างความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มันมีพัฒนาการอย่างไร จากในสมัยอดีตเราเคยคิดง่ายๆ ว่า ถ้าไม่จ้างแขกยาม เราก็เชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่เช่นนั้นเราก็จ้างมือปืน (ในกรณีพิเศษ) มาจนถึงจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่ระดับหัวหน้าอาจจะมีประสบการณ์หรือความเชื่อมโยงกับกลไกรัฐทางใดทางหนึ่ง ทั้งการดูแลตลาด โรงงาน ฯลฯ
แล้วสุดท้ายเราคงต้องมาตั้งคำถามด้วยว่า ในการมี "การ์ด" ของการชุมนุม ไม่ว่าจะสีเสื้อใดๆ นั้น กระบวนการบริหารจัดการการ์ดเหล่านี้มีที่มาจากไหน และเกี่ยวโยงกับกลไกรัฐมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เข้าใจว่าความรุนแรงและการป้องกันความรุนแรงนั้นเกี่ยวข้องกับรัฐแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับมุมมองที่เกี่ยวกับตัวความรุนแรงเองอย่างไร
ผมไม่เชื่อว่าจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปจะทำให้เรื่องของความรุนแรงลดลง ตราบใดที่เรายังไม่พยายามสนใจเรื่องความซับซ้อนของความรุนแรงกับความขัดแย้งทางการเมืองในฐานะประเด็นหลักทางการเมืองครับผม
แล้วมันจะเกี่ยวอะไรกับความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้บ้าง?
อาทิ คนที่มีชีวิตมาหกสิบกว่าปีผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองมาหลายครั้ง หรือคนที่เพิ่งมีอายุสักยี่สิบปี เป็นต้น
ลองยกตัวอย่างเรื่องแรกก็คือ การที่เราชอบพูดเรื่อง "สงครามกลางเมือง" ว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ จะต้องมีการฆ่ากันในเมืองแน่ๆ ซึ่งผมเองนั้นไม่ค่อยเชื่อในเรื่องนี้เท่าไหร่ ด้วยว่าเมื่อพูดถึงสงครามกลางเมืองนั้น เราอาจจะหมายถึงการต่อสู้ที่เป็นการเผชิญหน้าของกลุ่มผู้คนที่มีการรวมตัวอย่างเป็นระบบในระดับหนึ่ง หรือมีความขัดแย้งทางอุดมการณ์ แต่สงครามกลางเมืองน่าจะหมายถึงอะไรที่มีการต่อสู้กันอย่างสมน้ำสมเนื้อสักหน่อย ไม่ได้แพ้ชนะกันง่ายๆ หรือถูกเขาทุบเอาฝ่ายเดียว
ผมจึงไม่แน่ใจว่าสงครามกลางเมืองนั้นเคยเกิดในสังคมไทยจริงๆ หรือถ้าจะเกิดในสังคมไทย ก็จะมีกลไกที่พยายามผลักดันว่าสิ่งที่น่าจะเรียกสงครามกลางเมืองนั้นเป็นการผลักดันขึ้นจาก "มือที่สาม" หรือจาก "คนภายนอก" สังคมมากกว่า
พูดยากครับว่าบ้านเราเข้าใจเรื่องของสงครามกลางเมืองจริงๆ หรือห่วงใยกับเรื่องสงครามกลางเมืองจริงๆ ผมห่วงแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็น "อาชญากรสงคราม" หรือ "อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" เสียมากกว่า แถมยังสามารถปล่อยให้เกิดขึ้นได้อีกต่างหาก เพราะว่าเมื่อพูดถึง "สงคราม" จริงๆ แล้ว การที่เราระบุว่าคนอีกฝ่ายเป็น "ศัตรู" นั้น มันย่อมมีความหมายในระดับหนึ่งของการเห็นว่าศัตรูของเราหรือคู่ขัดแย้งของเรามีอำนาจ และมีพลังบางอย่าง หรือหมายถึงการ "เกรง" กันบ้าง ไม่ใช่มองไม่เห็นพวกเขาในฐานะคู่ขัดแย้งที่เราพร้อมจะสู้กับเขา หรือแม้กระทั่ง "กลัว" เขาบ้าง
ขณะที่อาชญากรสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นเป็นเรื่องของการจัดการฝ่ายเดียวเสียมากกว่า และโดยเฉพาะจัดการอย่างเป็นระบบ อย่างทันสมัย โดยผู้นำที่คิดค้นและสื่อสารกับผู้สนับสนุนมาเป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่สองของเรื่องความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองก็คือ การที่เราชอบพูดว่า ถ้าไม่ทำอย่างนั้นจะเกิดความรุนแรง หรือจะมีการนองเลือดแน่ๆ ตรงนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าเวลาที่เราพูดหรือให้เหตุผลในเรื่องนี้ เราเคยตั้งคำถามหรือไม่ว่า ความรุนแรงและการนองเลือดนั้นเป็นสิ่งที่คู่ขัดแย้ง หรือ คู่สนทนาของเราเขารู้สึกไหมว่ามันเป็นเรื่องที่เขากังวล หรือหวาดกลัว
ผมคิดว่าสังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมที่กลัวการนองเลือดสักเท่าไหร่ สังคมที่กลัวการนองเลือดน่าจะเป็นสังคมที่เคารพความเป็นมนุษย์ของคนอื่น แต่สิ่งที่เราพบเห็นทุกวันก็คือการลดทอนความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะส่วนสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ และการลดทอนความเป็นมนุษย์นั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอาจไม่รู้สึกว่ามีเรื่องของความรุนแรงอยู่ในเรื่องราวทั้งหมด
เพราะเรามักจะชอบมองแบบแบ่งง่ายๆ ว่า ความรุนแรงนั้นเป็นปริมณฑลทางกายภาพ คือถ้าไม่มีความเสียหายในเรื่องทรัพย์สิน ร่างกายแล้วก็ให้ถือว่ายังไม่รุนแรง (บางทียังกล้าพูดด้วยว่าเป็นเรื่องของ สันติ อหิงสา) ทั้งๆ ที่เราสามารถพูดเรื่องความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง ในความหมายของการพรากจากของคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะบางอย่างไปจากเราโดยที่เราไม่ยินยอม หรือตกอยู่ในสภาวะของการไม่มีอำนาจที่จะต้านทาน ต่อรอง หรือการกระทำดังกล่าวไม่ขึ้นกับเจตจำนงของเรา
รวมทั้งการพูดถึงความรุนแรงในฐานะการพรากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเรา ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว รวมทั้งเรื่องที่ได้ประสบพบเห็นมาโดยตลอด ในกรณีของการใช้ถ้อยคำหยาบคายและเต็มไปด้วยการลดทอนความเป็นมนุษย์ รวมไปถึงการเหยียดเพศ
นอกจากนี้แล้ว ความรุนแรงนั้นอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะของการทำให้เราสยบยอมต่ออำนาจได้ด้วย อาทิ เรารู้สึกว่ามันมีบรรยากาศบางอย่างที่เราไม่อยากจะเสี่ยง หรือไม่คุ้มที่จะเสี่ยง เราจึงยอมจำนนกับบรรยากาศแห่งความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น เพราะว่ามันทำให้เกิดความกลัวในจิตใจของเรา
เรื่องนี้จะว่าไปแล้ว ผมว่าโยงเข้าสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้นกว่านั้น นั่นก็คือเรื่องของการรัฐประหาร ซึ่งบางคนมองว่ารัฐประหารนั้นเป็นความรุนแรงแบบหนึ่ง ในขณะที่บางคนพยายามอย่างสุดจิตสุดใจที่จะแยกให้เห็นว่ารัฐประหารนั้นไม่ได้รุนแรงอะไร และมีไว้เพื่อสกัดยับยั้งความรุนแรงที่อาจจะมีขึ้นในอนาคตอีกต่างหาก
เรื่องนี้อาจต้องขยายความต่อไปว่า ความรุนแรงที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้นอาจจะเป็นเพราะรัฐนั้นล้มเหลวที่จะระงับความรุนแรงในฐานะที่รัฐนั้นเป็นกลไกเดียวที่จะมีความชอบธรรมในการผูกขาดและใช้ความรุนแรง และที่สำคัญหัวใจของเรื่องก็อยู่ที่รัฐนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพเอง หรือรัฐนั้นอาจ "ขาดความชอบธรรม" ในการใช้ความรุนแรงในการระงับความรุนแรง
แต่ถ้ามองในอีกด้านหนึ่ง การปล่อยให้ทหารนั้นใช้ความรุนแรงได้ ทั้งในแง่กายภาพหรือการแสดงแสนยานุภาพนั้น ก็เป็นการแยกทหารออกจากรัฐบาล ทั้งที่ทหารเป็นหนึ่งในกลไกรัฐอยู่ดีมิใช่หรือ?
กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อเราพูดว่าเรื่องอะไรจะรุนแรงหรือไม่รุนแรง นั้นบางทีเราอาจจะนึกไปถึงจินตภาพว่าด้วยเรื่องของความรุนแรงที่แต่ละคนอาจมีไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเรื่องของความรุนแรงทางกายภาพ ความรุนแรงในฐานะปฏิบัติการทางอำนาจที่ขัดขวางเจตจำนงของเรา หรือจำกัดทางเลือกของเรา
และสุดท้ายก็คือมิติความรุนแรงในแง่ของการกระทำต่อความเป็นมนุษย์ของเราด้วยนั่นเอง
เพิ่มเติมในหัวข้อนี้ อาจจะไปถึงเรื่องที่ว่าความรุนแรงอาจจะมาในลักษณะที่ซับซ้อนโดยพยายามสร้างภาพของการไม่รุนแรง ทั้งที่เป็นความรุนแรงยิ่ง อาทิ การใช้ชื่อปฏิบัติการเช่น "การกระชับพื้นที่" ที่ให้ความสำคัญกับการขอพื้นที่คืน ทั้งที่ในพื้นที่นั้นมีผู้คนอยู่ในนั้น และในแง่นี้ก็จะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ในแง่ของการพูดถึงการใช้กฎหมายประเภทกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือกฎอัยการศึก ที่ในปัจจุบันมีผู้มองว่าเป็นความรุนแรง โดยเฉพาะกับผู้ชุมนุม เราจึงเห็นตัวการใช้ว่าจะเป็นผลสำเร็จก็เมื่อต้องประดิษฐ์คำบางคำที่ทำให้เราหลงลืมคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่จะต้องเคารพรักษาไว้ดังเช่นกรณีการกระชับพื้นที่ที่มีคนตายนั่นเอง และอาจเป็นไปได้ว่าต่อให้มีชีวิตมานาน ถ้าถูกครอบงำโดยวาทกรรมที่ทำให้ความรุนแรงดูไม่รุนแรงมาโดยตลอด เขาอาจมองไม่เห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นเลยก็ได้
ตัวอย่างที่สามในเรื่องของความรุนแรงกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะข้ออ้างในเรื่องของการเลือกตั้งที่ส่อแววจะนำไปสู่ความรุนแรง ดังนั้นก็ควรจะเลื่อนไปซะ ทั้งที่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดนั้นจะพบว่า การเลือกตั้งกับความรุนแรงแม้ว่าจะสัมพันธ์กัน แต่เรื่องสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความสัมพันธ์ในแบบที่เป็นเหตุเป็นผลอย่างง่ายๆ เหมือนที่พยายามจะอ้างอิงที่จะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป
หากแต่หัวใจสำคัญก็คือเรื่องของความเชื่อที่ว่าผลของการเลือกตั้งนั้นย่อมไม่เป็นไปตามที่ฝ่ายตนต้องการต่างหาก
กล่าวคือ ถ้าข้อกังวลเรื่องของการเลือกตั้งที่เกิดจากการซื้อสิทธิขายเสียง หรือการทุจริตจริง ดังเช่นเหมือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะผ่านวาทกรรม "คนโกงไม่ใช่กูและพวกกู" ของพรรคประชาธิปปัตย์เป็นความจริง การแข่งขันเลือกตั้งนั้นย่อมจะต้องมีในลักษณะของการส่งเสริมให้มีการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง และทำให้การเลือกตั้งเป็นสำนึกของประชาชนว่าจะต้องไม่ซื้อไม่ขายเสียง และยิ่งจะต้องเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าเชื่อว่าการเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่จะสรรหาบุคลากรทางการเมืองได้ ปัญหาอยู่ที่กระบวนการที่ไม่ดี ก็จะต้องไปจัดการกับกระบวนการให้มันบริสุทธิ์ยุติธรรม แต่ครั้งนี้อาจจะถือเป็นการยอมรับจริงๆ ว่าการเลือกตั้งที่วางอยู่บนหลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงนั้นไม่สามารถใช้ได้ และไม่ใช่เรื่องของการซื้อเสียงที่ทำให้ใช้ไม่ได้
แต่เป็นเพราะเรื่องนโยบายที่ไม่สามารถทำได้ และจะเป็นว่าการจัดการระบอบยิ่งลักษณ์-ทักษิณในวันนี้ก็มุ่งไปที่เรื่องของโครงสร้างทางนโยบายที่ทำให้ต้องถามคำถามที่ใหญ่ขึ้นว่า ตกลงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นสามารถทำนโยบายอะไรได้บ้าง
นอกจากนี้แล้ว หากมองว่าการเลือกตั้งไปก็จะไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้กับสังคมได้จริง ก็ต้องถามว่าคณะกรรมการเลือกตั้งชุดนี้มีความเข้าอกเข้าใจในเรื่องของการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่ขาดหายไปนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องของการยืนยันว่า สามารถจัดการเลือกตั้งให้โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรมได้ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่าเป็นการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม (free and fair election)
หากแต่เป็นเรื่องของการพูดถึงการทำให้การเลือกตั้งเป็นคุณค่าที่มีความหมาย (meaningful) ต่อสังคมประชาธิปไตย ซึ่งในวันนี้ก็ไม่เห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถที่จะเผยแพร่ความหมายดังกล่าวออกไปต่อสังคม รวมทั้งสื่อสารกับกลุ่มที่ต่อต้านการเลือกตั้งในวันนี้แม้สักครั้งเดียว
กล่าวโดยสรุป การเลือกตั้งไม่ได้เป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดความรุนแรง หากเราเชื่อมั่นในการบริหารการเลือกตั้ง แต่คำถามนั้นอยู่ที่ว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่ความรุนแรงหากมีคนที่ไม่เชื่อถือศรัทธาในกระบวนการเลือกตั้ง และผลของการเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของการแทรกแซงการเลือกตั้ง แต่เป็นเพราะรู้ว่าตนจะแพ้ในการเลือกตั้งเสียมากกว่า
ตัวอย่างสุดท้ายที่จะละเลยไม่ได้นั่นก็คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ซึ่งมีทั้งในสองด้านคือการที่การชุมนุมนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรงในความหมายกว้าง ดังที่อภิปรายความหมายไปแล้ว และเห็นชัดต่อเรื่องของการกดดันเพื่อไม่ให้ข้าราชการนั้นให้บริการสาธารณะกับประชาชนได้
แต่ในอีกด้านที่ต้องทำความเข้าใจกันก็คือเรื่องของการที่เกิดความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมเอง โดยเฉพาะจากเหตุการณ์การระเบิดและลอบยิงต่างๆ
สิ่งที่เราไม่ค่อยได้ศึกษากันก็คือเรื่องของความรุนแรงแบบนี้นั้นจะถือว่าเป็นความรุนแรงจากรัฐหรือจากเอกชน? ในความหมายที่ว่า ถ้าเราเชื่อว่าฝ่ายรัฐนั้นทำก็เป็นเรื่องที่จะกล่าวหาไปว่านี่คือส่วนที่เป็นกลไกลับของรัฐ
หรือถ้าเรามองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นของเอกชน หรือการ "จ้าง" มาทำนั้นบางทีก็เป็นเรื่องที่คิดง่ายเกิดไป จนไม่เข้าใจถึงวิวัฒนาการของการสร้างความเป็นเอกชนของความรุนแรง (the privatization of violence) ซึ่งในความเป็นจริงเราอาจจะต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง เช่น เราเชื่อว่าความรุนแรงนั้นเกิดจากกลุ่มคนที่ไม่ใช่รัฐ แต่สามารถใช้ความรุนแรงได้ อาทิ เจ้าพ่อ หรือเรากำลังต้องพิจารณาว่าในความเป็นจริงนั้น ผู้ที่สามารถใช้ความรุนแรงในสังคมไทยนั้นย่อมมีความเชื่อมโยงทางใดทางหนึ่งกับรัฐ แม้ว่าอาจจะไม่ได้รับฟังคำสั่งตรงจากรัฐบาล หรืออาจจะไม่ได้ขึ้นต่อรัฐบาล แต่เขาอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเข้าถึง หรือหลบหลีก (ในความหมายของการเข้าถึง หรือได้รับการยกเว้น) การตรวจสอบจากรัฐได้
ดังนั้น หากเรื่องราวของความรุนแรงไม่ใช่แค่เป็นเรื่องขององค์กรลับ เรื่องของเจ้าพ่อ การปล้นปืน หรือการได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ สิ่งที่เราจะต้องศึกษาก็คือลักษณะของความไม่สามารถของรัฐเองในการควบคุมกลไกส่วนต่างๆ ของรัฐที่กระจัดกระจายออกไปและถืออาวุธได้ กล่าวคือ เมื่อเราพูดถึงรัฐที่ผูกขาดความรุนแรง เราอาจจะนำมาประยุกต์ใช้กับรัฐไทยโดยตรงไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจพลวัตของตำรวจที่มีหลายหน่วย ทหารที่มีหลายหน่วย และหน่วยงานความมั่นคงอื่นๆ ที่สามารถถืออาวุธได้เช่นกัน
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านประวัติศาสตร์ว่าในช่วงของสงครามการปราบปรามคอมมิวนิสต์เองนั้น ทหารก็มีบทบาทต่อความมั่นคงภายใน (คือทำหน้าที่เหมือนตำรวจ) และตำรวจเองก็มีหน่วยงานในลักษณะกองทัพเช่นกัน และอะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสงครามเย็นสงบลง และเมื่อการบริหารงานประเทศนั้นเปลี่ยนมือจากทหารสู่พลเรือน (ซึ่งอาจไม่ได้หมายความง่ายๆ ในกรอบของว่าทหารถูกพลเรือนคุม แต่อาจหมายถึงการที่พลเรือนอาจจะให้อิสระกับทหารในการบริหารกันเองในระดับหนึ่ง หรืออาจรวมไปถึงการที่บุคลากรในกองทัพจำนวนหนึ่งได้ผันตัวเองออกมาเกี่ยวข้องกับการเมือง และการบริหารจัดการท้องถิ่น เหมือนดังที่เราเห็น "ฉายา" คำว่า "เสธ." โน่นนี่ในการเมืองและความเกี่ยวพันกับความรุนแรงรายวันของท้องถิ่น ขณะที่เดิมเรามีแต่ฉายา "บิ๊ก" ให้กับทหารที่มีบทบาทกับการเมืองระดับชาติ)
กล่าวอีกอย่างก็คือ การสร้างความเป็นเอกชนต่อความรุนแรงนั้นก็เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นคงในมิติที่ไม่ใช่รัฐ (non-state security) แต่คำว่าไม่ใช่รัฐนี้อาจไม่ได้หมายถึงหลุดออกไปจากรัฐเสียทีเดียว แต่อาจหมายถึงการสร้างความมั่นคงต่อตัวเราและทรัพย์สินของเรา
ทีนี้หากเราเอามิติทางชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง เราอาจจะลองตั้งคำถามใหม่ๆ ว่า กระบวนการสร้างความมั่นคงปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน มันมีพัฒนาการอย่างไร จากในสมัยอดีตเราเคยคิดง่ายๆ ว่า ถ้าไม่จ้างแขกยาม เราก็เชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่รัฐ หรือไม่เช่นนั้นเราก็จ้างมือปืน (ในกรณีพิเศษ) มาจนถึงจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือกองกำลังรักษาความปลอดภัยที่ระดับหัวหน้าอาจจะมีประสบการณ์หรือความเชื่อมโยงกับกลไกรัฐทางใดทางหนึ่ง ทั้งการดูแลตลาด โรงงาน ฯลฯ
แล้วสุดท้ายเราคงต้องมาตั้งคำถามด้วยว่า ในการมี "การ์ด" ของการชุมนุม ไม่ว่าจะสีเสื้อใดๆ นั้น กระบวนการบริหารจัดการการ์ดเหล่านี้มีที่มาจากไหน และเกี่ยวโยงกับกลไกรัฐมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เข้าใจว่าความรุนแรงและการป้องกันความรุนแรงนั้นเกี่ยวข้องกับรัฐแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับมุมมองที่เกี่ยวกับตัวความรุนแรงเองอย่างไร
ผมไม่เชื่อว่าจะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปจะทำให้เรื่องของความรุนแรงลดลง ตราบใดที่เรายังไม่พยายามสนใจเรื่องความซับซ้อนของความรุนแรงกับความขัดแย้งทางการเมืองในฐานะประเด็นหลักทางการเมืองครับผม
(ที่มา:มติชนรายวัน 28 มกราคม 2557)