The Diplomat นิตยสารข่าวชื่อดัง ตีพิมพ์บทความชิ้นใหม่ระบุว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลไทยในขณะนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ของโลก เนื่องจากเป็นการชุมนุมต่อต้านระบอบประชาธิปไตย ต่างจากการประท้วงที่เกิดขึ้นในชาติอื่นๆ ซึ่งมักเป็นการออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
The Diplomat นิตยสารข่าวออนไลน์ สัญชาติออสเตรเลีย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ของญี่ปุ่น เผยแพร่บทความชิ้นใหม่ ใช้ชื่อว่า "การประท้วงใหญ่ในไทย เป็นการต่อต้านประชาธิปไตย" พร้อมบรรยายถึงปรากฏการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยระบุว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่มีให้เห็นบ่อยนัก เนื่องจากการประท้วงใหญ่ทั่วโลกส่วนใหญ่ มักเป็นการออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
บทความดังกล่าวอ้างตั้งแต่ปรากฏการณ์อาหรับสปริง ในช่วงต้นปี 2554 รวมถึงการประท้วงอื่นๆทั่วโลก ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ซึ่งล้วนแต่เป็นการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ในบางช่วงบางประเทศจะมีระบอบเผด็จการสอดแทรกเข้ามา
นอกจากนี้ The Diplomat ยังเปรียบเทียบสถานการณ์การประท้วงในไทย กับในประเทศอียิปต์ โดยชี้ว่า การชุมนุมขับไล่นายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์ จนนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว แตกต่างจากการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ ของกลุ่ม กปปส. เนื่องจากในขณะนั้นมีหลักฐานยืนยันมากมายว่า นายมอร์ซี ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ในอียิปต์ และเขาก็ไม่มีท่าทียอมลงจากอำนาจ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว The Diplomat ระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และมีกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นสูงหัวอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯ เป็นแกนนำ มีการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
บทความระบุว่า ข้ออ้างที่ว่า กลุ่มผู้ประท้วงดังกล่าวต่อต้านประชาธิปไตย มาจากท่าทีต่อต้านการเลือกตั้งรอบใหม่ หลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์เชื่อมั่นว่า พรรคของเธอจะได้รับชัยชนะจากเสียงสนับสนุนที่ล้นหลามจากพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย ขณะที่นายสุเทพ และผู้สนับสนุน พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมือง เพราะรู้ตัวเช่นกันว่า ฝ่ายของตนจะเป็นผู้แพ้
ด้วยเหตุนี้ The Diplomat ชี้ว่า ประเทศไทยจึงกำลังเผชิญสถานการณ์ที่แปลกประหลาด โดยกลุ่มที่ออกมาสนับสนุนนายสุเทพต่อต้านระบอบประชาธิปไตย มาจากคนหลากหลายกลุ่ม ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มชนชั้นสูงหัวอนุรักษ์นิยมทางการเมือง ถึงขั้นที่ต้องการคืนอำนาจให้กับทหาร หรือสถาบันกษัตริย์ เพื่อกดขี่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนยากจน และผู้คนในชนบท
15 มกราคม 2557 เวลา 18:40 น.
บทความดังกล่าวอ้างตั้งแต่ปรากฏการณ์อาหรับสปริง ในช่วงต้นปี 2554 รวมถึงการประท้วงอื่นๆทั่วโลก ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ซึ่งล้วนแต่เป็นการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ในบางช่วงบางประเทศจะมีระบอบเผด็จการสอดแทรกเข้ามา
นอกจากนี้ The Diplomat ยังเปรียบเทียบสถานการณ์การประท้วงในไทย กับในประเทศอียิปต์ โดยชี้ว่า การชุมนุมขับไล่นายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์ จนนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว แตกต่างจากการชุมนุมปิดกรุงเทพฯ ของกลุ่ม กปปส. เนื่องจากในขณะนั้นมีหลักฐานยืนยันมากมายว่า นายมอร์ซี ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ในอียิปต์ และเขาก็ไม่มีท่าทียอมลงจากอำนาจ เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว The Diplomat ระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ และมีกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นสูงหัวอนุรักษ์นิยมในกรุงเทพฯ เป็นแกนนำ มีการเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน
บทความระบุว่า ข้ออ้างที่ว่า กลุ่มผู้ประท้วงดังกล่าวต่อต้านประชาธิปไตย มาจากท่าทีต่อต้านการเลือกตั้งรอบใหม่ หลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์เชื่อมั่นว่า พรรคของเธอจะได้รับชัยชนะจากเสียงสนับสนุนที่ล้นหลามจากพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสานของไทย ขณะที่นายสุเทพ และผู้สนับสนุน พยายามขัดขวางการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมือง เพราะรู้ตัวเช่นกันว่า ฝ่ายของตนจะเป็นผู้แพ้
ด้วยเหตุนี้ The Diplomat ชี้ว่า ประเทศไทยจึงกำลังเผชิญสถานการณ์ที่แปลกประหลาด โดยกลุ่มที่ออกมาสนับสนุนนายสุเทพต่อต้านระบอบประชาธิปไตย มาจากคนหลากหลายกลุ่ม ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มชนชั้นสูงหัวอนุรักษ์นิยมทางการเมือง ถึงขั้นที่ต้องการคืนอำนาจให้กับทหาร หรือสถาบันกษัตริย์ เพื่อกดขี่ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนยากจน และผู้คนในชนบท
15 มกราคม 2557 เวลา 18:40 น.