ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ เพื่อทำหน้าที่รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรัฐธรรมนูญและหลักการนิติรัฐประชาธิปไตย
ไม่ว่าจะเป็น
- การใช้อำนาจซึ่งมีผลเป็นการเพิ่มถ้อยคำที่ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ
- การใช้อำนาจที่สร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่สาธารณชนว่าเข้าเป็นฝ่ายทางการเมืองเพื่อทำลายอีกฝ่ายหนึ่ง
- การใช้อำนาจที่มีผลขยายเขตอำนาจของตนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
- การใช้อำนาจตีความรัฐธรรมนูญที่ส่งผลประหลาดและผิดพลาดอย่างแจ้งชัด
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- การใช้อำนาจที่มีผลเป็นการยับยั้งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ทั้งที่ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเข้าแทรกแซงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ไม่ว่าจะในขั้นตอนใด
จากพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายแดนอำนาจของตนออกไปจนกลายเป็นองค์กรที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและอยู่เหนือองค์กรทั้งปวงของรัฐ มีผลเป็นการทำลายหลักนิติรัฐประชาธิปไตยลงอย่างสิ้นเชิง ศาลรัฐธรรมนูญถูกก่อตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญก็เพื่อรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แต่วัตถุประสงค์และภารกิจดังกล่าวกลับไม่บรรลุผลและถูกทำลายไปโดยศาลรัฐธรรมนูญเอง
นอกจากนี้ การได้มาซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยังขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะไม่ยึดโยงกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อันเป็นลักษณะสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศเสรีประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำได้ยากในทางปฏิบัติ และหากเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ ก็ยังไม่เพียงพอต่อการปฏิรูปองค์กรที่ทำหน้าที่รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
(โปรดอ่าน: ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ: http://www.enlightened-jurists.com/blog/66)
ที่มา FB
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ เพื่อทำหน้าที่รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นไปในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรัฐธรรมนูญและหลักการนิติรัฐประชาธิปไตย...ดูเพิ่มเติม