กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันให้การดูแลประชาชน ในวันชุมนุมใหญ่ของ กลุ่มกปปส. ในวันพรุ่งนี้ เท่าเทียมกันทุกคน พร้อมตั้งจุดบริการ 26 จุด รับมือ
นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ถึงหลักการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลประชาชนช่วงมีการชุมนุมทางการเมืองในวันพรุ่งนี้ (13 ม.ค.57) โดยยืนยันถึงหลักการสำคัญว่า จะดูแลประชาชนให้เท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ และยึดหลักจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่งจะมีการประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนการดูแลจะแยกออกเป็น 2 ส่วนหลัก ทั้งประชาชนที่ร่วมชุมนุม หรืออยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง และประชาชนที่อยู่ตามที่พักอาศัย ที่ไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ารับการรักษาพยาบาล
ขณะที่ นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการดูแลประชาชน ศูนย์เอราวัณ จะเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานงานการดูแล ซึ่งจะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแต่ละส่วน โดยมีจุดให้บริการทางการแพทย์เบื้องต้น 26 จุด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข จะสนับสนุนหน่วยแพทย์และเวชภัณฑ์
ส่วนการส่งต่อผู้ป่วย จะมีตัวแทนของมูลนิธิต่างๆ ดูแล หากการจราจรติดขัดจะมีหน่วยงานส่งต่อผู้ป่วยออกไปโรงพยาบาลรอบนอกได้
นอกจากนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์แจ้งได้ที่หมายเลข 1646 ศูนย์เอราวัณ หรือ 1669 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ด้านพลตำรวจโทเรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบดูแลงานด้านการจราจร กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. จะชุมนุมกระจายทั่วกรุงเทพมหานครในวันพรุ่งนี้ (13 ม.ค.57) โดยจะชุมนุมตามถนนสำคัญ 7 จุดของกรุงเทพฯ ได้แก่ แยกปทุมวัน แยกราชประสงค์ แยกอโศกฯ สวนลุมพินี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกลาดพร้าว และถนนแจ้งวัฒนะ ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมแผนจัดการจราจร โดยตั้งจุดตำรวจจราจรบริการประชาชนที่ถนนทางแยกทั้ง 7 จุด ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะไปปักหลักชุมนุม เพื่อให้บริการข้อมูลเส้นทางเลี่ยงแก่ประชาชน เพื่อให้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวกรุงเทพฯ น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน ได้จัดชุดปฏิบัติการจัดการจราจร ชุดเคลื่อนที่เร็วเข้าช่วยอำนวยความสะดวกการจราจรกรณีฉุกเฉิน หากเกิดอุบัติเหตุ หรือกรณีต้องลำเลียงผู้ป่วยและบาดเจ็บ พร้อมทั้งจัดชุดปฏิบัติการเจรจาพูดคุยกับทางกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อเปิดทาง หากจำเป็น
เพราะเส้นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศไปชุมนุมปิดทางนั้น กระทบต่อการจราจรถนนสายหลัก 16 เส้นทาง และเป็นเส้นทางต่อเนื่อง อีก 8 เส้นทาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวม 69 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาล 12 แห่ง โรงแรม 28 แห่ง โรงเรียน 24 แห่ง และสถานีดับเพลิง 5 แห่ง ซึ่งปกติเส้นทางเหล่านี้มีรถยนต์ของประชาชนต้องสัญจรผ่านประมาณ 800,000 คันต่อวัน
ส่วนบรรยากาศที่บริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. เริ่มรื้ออุปกรณ์ และเต็นต่างๆ ออกบางส่วนแล้ว คาดว่าน่าจะเตรียมนำไปติดตั้งตามจุดที กกปส.ประกาศ ชัตดาวน์ กทม.ในวันที่ 13 มกราคม โดยในช่วงค่ำของวันนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศแผนชัตดาวน์ กทม.อีกครั้ง
12 มกราคม 2557 เวลา 12:44 น.
ขณะที่ นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการดูแลประชาชน ศูนย์เอราวัณ จะเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานงานการดูแล ซึ่งจะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแต่ละส่วน โดยมีจุดให้บริการทางการแพทย์เบื้องต้น 26 จุด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข จะสนับสนุนหน่วยแพทย์และเวชภัณฑ์
ส่วนการส่งต่อผู้ป่วย จะมีตัวแทนของมูลนิธิต่างๆ ดูแล หากการจราจรติดขัดจะมีหน่วยงานส่งต่อผู้ป่วยออกไปโรงพยาบาลรอบนอกได้
นอกจากนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์แจ้งได้ที่หมายเลข 1646 ศูนย์เอราวัณ หรือ 1669 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ด้านพลตำรวจโทเรืองศักดิ์ จริตเอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รับผิดชอบดูแลงานด้านการจราจร กล่าวถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. จะชุมนุมกระจายทั่วกรุงเทพมหานครในวันพรุ่งนี้ (13 ม.ค.57) โดยจะชุมนุมตามถนนสำคัญ 7 จุดของกรุงเทพฯ ได้แก่ แยกปทุมวัน แยกราชประสงค์ แยกอโศกฯ สวนลุมพินี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกลาดพร้าว และถนนแจ้งวัฒนะ ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมแผนจัดการจราจร โดยตั้งจุดตำรวจจราจรบริการประชาชนที่ถนนทางแยกทั้ง 7 จุด ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะไปปักหลักชุมนุม เพื่อให้บริการข้อมูลเส้นทางเลี่ยงแก่ประชาชน เพื่อให้กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวกรุงเทพฯ น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน ได้จัดชุดปฏิบัติการจัดการจราจร ชุดเคลื่อนที่เร็วเข้าช่วยอำนวยความสะดวกการจราจรกรณีฉุกเฉิน หากเกิดอุบัติเหตุ หรือกรณีต้องลำเลียงผู้ป่วยและบาดเจ็บ พร้อมทั้งจัดชุดปฏิบัติการเจรจาพูดคุยกับทางกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อเปิดทาง หากจำเป็น
เพราะเส้นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมประกาศไปชุมนุมปิดทางนั้น กระทบต่อการจราจรถนนสายหลัก 16 เส้นทาง และเป็นเส้นทางต่อเนื่อง อีก 8 เส้นทาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวม 69 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาล 12 แห่ง โรงแรม 28 แห่ง โรงเรียน 24 แห่ง และสถานีดับเพลิง 5 แห่ง ซึ่งปกติเส้นทางเหล่านี้มีรถยนต์ของประชาชนต้องสัญจรผ่านประมาณ 800,000 คันต่อวัน
ส่วนบรรยากาศที่บริเวณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. เริ่มรื้ออุปกรณ์ และเต็นต่างๆ ออกบางส่วนแล้ว คาดว่าน่าจะเตรียมนำไปติดตั้งตามจุดที กกปส.ประกาศ ชัตดาวน์ กทม.ในวันที่ 13 มกราคม โดยในช่วงค่ำของวันนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. จะประกาศแผนชัตดาวน์ กทม.อีกครั้ง
12 มกราคม 2557 เวลา 12:44 น.
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ แถลงเตรียมความพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน ชุมนุมปิดกรุงเทพ 13 ม.ค.57 ยืนยันดูแลเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ตั้งจุดให้บริการทางการแพทย์เบื้องต้น 26 จุด อ่านเพิ่มในhttp://news.voicetv.co.th/democracycrisis/93757.html
#เหตุฉุกเฉิน #ชุมนุม #ปิดกรุงเทพ #บริการทางการแพทย์
#เหตุฉุกเฉิน #ชุมนุม #ปิดกรุงเทพ #บริการทางการแพทย์