วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

กกต.ลงพื้นที่จ.ชายแดนใต้ ย้ำความพร้อมจัดเลือกตั้ง 2 ก.พ.

กกต.ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.ที่จะถึงนี้
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมลังกาสุกะชั้น 2 ศาลากลางปัตตานี (หลังเก่า) รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง นางบุญชิรา ภู่ชนะกิจ ที่ปรึกษา กกต. นายอรรถกฤต์ ปัจฉิมนนท์ ผู้เชี่ยวชาญ กกต. พร้อมคณะฯ เดินทางตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กพ.ที่จะถึงนี้ ในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

นายสมชัย กรรมการการเลือกตั้งฯ (กกต.) กล่าวว่ากรรมการเลือกตั่งได้มอบหมายให้เป็นตัวแทนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรวจเยี่ยมการทำงานของ กกต.จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และคณะได้ตรวจเยี่ยมจนครบ สิ่งที่เราตรวจพบในการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ครั้งนี้ คือปัญหาของพื้นที่ด้านความมั่นคง มีปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น

ดังนั้นในแง่ของการจัดการเลือกตั้งจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างออกไปจากหลายๆ พื้นที่ สิ่งหนึ่งคือการรักษาความปลอดภัย เพราะเดิมถ้าเป็นหน่วยเลือกตั่งทั่วไปจะมี รปภ.เพียงแค่ 2 คน คอยดูแลความสงบเรียบร้อย แต่ใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ จะเพิ่มเป็น 4 หรือ 6 คน อันนี้ก็จะให้มองถึงความปลอดภัยแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงกระบวนการนับคะแนน การขนส่งหีบบัตรต่างๆ ซึ่งทาง กกต.ก็พยายามให้เกิดความเรียบร้อยเกิดขึ้น การจัดการตรงนี้อีกส่วนหนึ่งที่เป็นปัญหาและยังไม่สามารถแก้ไขได้ในขณะนี้คือ จำนวนหน่วยเลือกตั่งโดยสัดส่วนของหน่วยเลือกตั่ง 1 หน่วย มีผู้ใช้สิทธิ์ประมาณ 800-900 คน วิธีการคิดแบบนี้คงไม่สามารถนำไปใช้ได้ในพื้นที่ 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ซึ่งข้อเสนอนี้จะถูกนำไปใช้ในการเลือกตั่งครั้งต่อไป เพื่อให้มีสัดส่วนของประชานที่น้อยลง ต่อหน่วยเลือกตั่ง อาจจะอยู่ประมาณที่ 500-600 คน เฉพาะ 3 จว.นี้ เพราะจะได้ให้ จนท.เมื่อนับคะแนนและการดูแลความเรียบร้อยต่างๆ หลังจากการเลือกตั่ง จะได้ไม่มืดค่ำเกินไป สามารถเดินทางกลับที่พักได้ปลอดภัย แปลว่าจำนวนหน่วยเลือกตั่งจะต้องเพิ่มมากขึ้น ส่วนประเด็นต่างๆ ที่เป็นห่วงของพื้นที่คือความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดการการเลือกตั่ง ในช่วงของการหาเสียงก็ดี ช่วงของการเลือกตั่งล่วงหน้า วันเลือกตั่ง การนับคะแนน การขนส่งลักฐานต่างๆ เหล่านี้ กรรมการการเลือกตั่งเองก็มีการซักซ้อม ความเข้าใจกันกับทาง กกต. จว. ว่าจะมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร ให้เกิดความ สงบเรียบร้อยในพื้นที่ ซึ่งเท่าที่ดูยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงมากนัก ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างเต็มที่ อันนี้ก็เป็นจุดสำคัญที่ได้พูดคุยกัน


ส่วนปัญหาที่คล้ายคลึงกันกับ จว.ต่างๆ ในภาคใต้ คือการหากรรมการประจำหน่วยที่ยังมีปัญหาจะต้องหากรรมการประจำหน่วยให้ครบถ้วน 1 หน่วย ต้องใช้กรรมการ 9 คน ขณะนี้ใน 3 จว.คืบหน้าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าอยู่ในอัตราที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ถึงเวลาน่าจะมีกรรมการประจำหน่วยเพียงพอ ถ้าไม่พอก็ต้องขอประสานกับหน่วยราชการต่างๆ ในพื้นที่ อันนี้เป็นภาพรวมของการมาตรวจเยี่ยมการทำงานของ กกต.3 จว.ชายแดนภาคใต้

ส่วนสถานการณ์ในภาคใต้ทั้งหมด ขณะนี้ยังไม่ได้ไปตรวจเยี่ยม คงจะต้องมีแผนการตรวจเยี่ยมในอนาคตเร็วๆ นี้ คงจะต้องตระเวนดูความเรียบร้อยใน จว.อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมพร สุราษฎร สงขลา พัทลุง กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง คงต้องไปทั้งหมด ในวันนี้ปัญหาหนักในการจัดการเลือกตั้ง จว.อื่นๆ ในภาคใต้ กลับกลายเป็นปัญหาการจัดหากรรมการประจำหน่วย เท่าที่รับรายงานแล้วเราจะต้องมีการประกาศรายชื่อกรรการประจำหน่วยในวันจันทร์ที่ 13 มค. แต่ว่าจำนวนกรรการประจำหน่วยขณะนี้มีสัดส่วนที่น้อยมาก บางพื้นที่หาได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ บาง จว.ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างที่ภูเก็ตต้องการถึง 1,000 คน แต่สามารถหาได้เพียง 400 คน ถือว่าค่อนข้างจะน้อย ขณะนี้เราขอให้คณะกรรมการเลือกตั่งประจำ จว.ทุกแห่งรีบทำรายงานขึ้นมาถึง กกต.กลาง ในวันที่ 13 มค. ว่าสถานะการับสมัครกรรมการประจำหน่วยขณะนี้เป็นอย่างไร แต่ละหน่วยยังขาดกี่คน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ คาดการเบื้องต้นว่าภาคใต้และกรุงเทพฯ มีปัญหา คาดการว่ากรรมการการเลือกตั่งประจำหน่วยขาดประมาณ 1 แสนคน จากทั้งประเทศประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งเป็นโจทย์หนึ่งที่ทาง กกต.ทำบันทึกขอความร่วมมือให้ทางหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ความร่วมมือ การจัดหากรรมการประจำหน่วยหลังจากที่เราได้รับรายงานว่าขาดเท่าไหร่ ทาง กกต.จะทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย เพื่อสังการให้ จนท.ในสังกัดกรมทมหาดไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกรมได้ก็แล้วแต่ที่อยู่ในพื้นที่มาทำหน้าที่ เป็นกรรมการประจำหน่วยในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการขอกำลัง จนท.ทหาร ตร.เท่าที่จะสามารถทำได้มาช่วย แต่มีข้อจำกัดว่าบุคคลเหล่านั้นต้องมีภูมิลำเนาในพื้นที่เขตเลือกตั่ง อันนี้ก็ถือเป็นโจทย์ปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดการได้ค่อนข้างยาก

อย่างไรก็ตามคณะ กกต.จะทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ในการจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จ แม้ว่าจะมีอุปสรรคต่างๆ มากกว่าปกติก็ตาม อันนี้คือความคืบหน้าของการมาตรวจเยี่ยมทั้งหมด


ผู้สื่อข่าวถามว่า หากตั้งหน่วยเลือกตั้งไม่ได้จะประกาศเลื่อนเป็นหน่วยๆ ไปหรือไม่ นายสมชัยกล่าวว่าในบางพื้นที่ไม่สามารถหากรรมการประจำหน่วยได้ หรือมีอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทาง กกต.เขต จะต้องรายงานต่อ กกต.จว. และรายงานต่อส่วนกลาง และจะมีการประกาศเลื่อนเป็นพื้นที่ๆ ว่าพื้นที่ดังกล่าวอาจจะมีการเลือกตั้งใหม่ ในวันใดอีกครั้ง

ต่อข้อซักถามที่ว่า หากทางนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่รับเสนอข้อให้เลื่อนการจัดการเลือกตั้งจากวันที่ 2 กพ. ออกไปจะทำอย่างไรนั้น นายสมชัย ระบุว่า ส่วนข้อเสนอของ กกต.กลางเราไม่ได้เสนอให้มีการเลื่อนการเลือกตั้ง แต่เราเสนอกำหนดการเลือกตั้งใหม่ คำว่ากำหนดการเลือกตั้งใหม่ คือว่าทุกอย่างเริ่มต้นใหม่หมด ผลักเวลาออกไปประมาณ 3 เดือน ซึ่งยังอยู่ในกรอบ 180 วัน หลังจากยุบสภา การผลักไปดังกล่าวก็ไม่ได้ผลักออกไปที่ไม่มีกิจกรรมพิเศษ เกิดขึ้นระหว่างกลางก็จะต้องมีการเตรียมความพร้อมฝ่ายต่างๆ ทั้งในอารมณ์ ความรูสึกของผู้คน เตรียมความพร้อมของการปฏิรูป ในบางเรื่อง บางประเด็น ที่คิดว่าสามารถดำเนินการจัดการได้ และเป็นผลดีของการจัดการเลือกตั่ง เช่น ปฏิรูปในระบบของการจัดการเลือกตั่ง ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ที่ กกต.สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องไปแก้กฎหมาย กระบวนการเหล่านี้ ก็จะทำให้สังคมเย็นลงในช่วงเวลาหนึ่ง และเดินหน้าจัดการเลือกตั้งให้มีความพร้อมและมีคุณภาพ ไม่เป็นปัญหากับความสงบเรียบร้อย ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยเราก็จะเชิญตัวแทนจากฝ่ายพรรคการเมืองต่างๆ มาปรึกษาหารือกัน กำหนดวันเลือกตั่งใหม่ ที่เหมาะสมว่าจะเป็นวันใด หลังจากนั้นก็จะให้รัฐบาลเองออกเป็นกฤษฎีกา ประเด็นนี้คนในรัฐบาลเองก็บอกว่าทำไม่ได้ เนื่องจากไม่มีช่องทางทางกฎหมาย เราเสนอให้ท่านตัดสินใจก่อนว่าสมควรจะมีการกำหนดการเลือกตั่งใหม่หรือไม่ ถ้าตัดสินใจแล้ว พรรคการเมืองทุกฝ่ายเห็นด้วย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน พรรคการเมืองต่างๆ ที่ลงสมัคร ไม่ลงสมัครก็ตาม ตกลงร่วมกันแล้วว่าสมควรให้มีการเลือกตั่งใหม่ การจัดการทางด้านกฎหมายเราอยากให้ ทางรัฐบาลนำเรื่องเข้าไปปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษากฏหมายของรัฐบาล และจะมีบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับสูงหลายท่านไม่ว่าจะเป็นคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ อยู่ในนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่จะเป็นผู้บอกเองว่า ถ้ารัฐบาลจะทำได้อย่างไรนั้นเป็นโจทย์ที่ทางรัฐบาลจะต้องทำ

อย่างไรก็ตามถ้ารัฐบาลไม่มีท่าที ไม่อยากกำหนดการเลือกตั้งใหม่ อยากจะเดินหน้า จัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ.ต่อไป ทางกกรมการการเลือกตั้งก็แสดงเจตนาอย่างจริงจังว่า เราก็ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ประสบความสำเร็จ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ เท่าทีมี แต่ก็เห็นชัดว่าแม้จะมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ก็ตาม เรื่องราวต่างๆ ก็จะไม่จบโดยง่าย อย่างน้อยที่สุดใน 28 เขต จะไม่มี สส. การเปิดสภาจะเปิดทันที่ไม่ได้ 22 เขต ที่มีผู้สมัครรายเดียวนั้น ก็อาจจะต้องไปเสี่ยงกันภายหน้าว่าจะเกิดผลต่างๆ อย่างไรบ้าง กระบวนการต่างๆ จากการประมาณการต่างๆ ก็เชื่อว่ากว่าจะเปิดสภาได้ก็อยู่ที่ประมาณเดือน พค. เช่นเดียวกัน

ส่วนการเลื่อนการเลือกตั้งดังกล่าวจะต้องเป็นความเห็นร่วมของฝ่ายการเมืองทั้งหมด หมายความว่าต้องมาจากความเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย ทั้งที่ลงสมัครและไม่ลงสมัคร ดังนั้นถ้าฝ่ายการเมืองตกลงกันแล้ว เชื่อว่าฝ่ายสนับสนุนของฝ่ายการเมืองก็ต้องเข้าใจและช่วยสนับสนุนด้วย ซึงหมายถึงใครบ้างก็ต้องตีความหมายเอาเอง ก็ขอให้ฝ่ายการเมืองตกลงกันได้เสียก่อน นายสมชัยกล่าวทิ้งท้าย

นายนิพนธ์ ประธาน กกต.ปัตตานี กล่าวว่า สำหรับ กกต.ปัตตานี ก็ต้องปฏิบัติทุกอย่างตามที่ได้รับมอบหมายและกำหนดไว้ตามกฏหมาย ขณะนี้เองในส่วนของปัตตานี มีปัญหาในเรื่องของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง แต่ถึงจะมีปัญหาบ้างก็พอแก้ไขได้ เบื้องต้นจะขอความร่วมมือไปยัง ผวจ.ในเรื่องของการจัด จนท.ประจำหน่วย ถ้ากฏหมายเปิดช่องไว้ก็จะสามารถให้ไปประจำตามหน่วยเลือกตั้ง ส่วนการเพิ่ม จนท.ประจำหน่วยที่ขอไปจาก 4 เพิ่มเป็น 6 คน ก็เป็นเรื่องที่ดีและจำเป็นมาก เพราะหลายพื้นที่ยังไม่แน่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ก่อเหตุความไม่สงบด้านความมั่นคง จึงประมาทไม่ได้



ที่มา http://news.voicetv.co.th

เข้าดูมากที่สุด 7 วันที่ผ่านมา