เมื่อวันที่ 16 มกราคม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ของสหรัฐอเมริกา นำเสนอบทบรรณาธิการ ชื่อว่า "การประท้วงต่อต้านประชาธิปไตยของไทยควรจะถูกประณามอย่างรุนแรงจากสหรัฐอเมริกา" โดยมีเนื้อหาระบุว่า ...
"การชุมนุมประท้วงของคนจำนวนมากเพื่อต่อต้านประชาธิปไตยกลายเป็นแนวโน้มที่น่าเสียดายในประเทศกำลังพัฒนา ที่ซึ่งการเลือกตั้งกำลังท้าทายอำนาจที่ชนชั้นสูงครอบครองมาอย่างยาวนาน โดยประชาชนนับหมื่นคนออกมาชุมนุมประท้วงตามท้องถนนตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งลาออก และให้สภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้าแทนที่ และเรียกร้องให้การเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในเดือนหน้าล้มเลิกไป โดยยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงดูเหมือนจะเป็นการขัดขวางวิถีทางตามปกติในกรุงเทพเพื่อให้ไปถึงจุดที่รัฐบาลรู้สึกว่าถูกบีบบังให้ต้องลาออก หรือไม่ก็ถูกโค่นล้มโดยกองทัพ
ยุทธศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันนี้ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐบาล 2 ชุดก่อนหน้านี้ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคพวกของเขา นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ขณะที่รัฐบาลชุดที่ 3 ถูกบีบให้ออกด้วยคำตัดสินที่น่ากังขาของศาล มาครั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นน้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงยืนหยัดอยู่ได้อย่างที่ควรจะทำ ทว่าเธอสามารถใช้การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อปฏิเสธทางออกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของวิกฤตได้
ความพยายามที่จะยั่วยุให้เกิดรัฐประหารได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกจำนวนมากในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ไม่เคยชนะการเลือกตั้งมาตั้งแต่ปี 2544 ที่พ.ต.ท.ทักษิณก้าวขึ้นสู่อำนาจ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมจากชนชั้นกลางในกรุงเทพและกลุ่มธุรกิจใหญ่ ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ นักธุรกิจมหาเศรษฐีที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ เป็นนักประชานิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากคนยากจนในชนบทและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่เคยมีสิทธิมีเสียงก่อนหน้านี้ และแม้ว่าเขาจะใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและละเมิดสิทธิมนุษยชนขณะดำรงตำแหน่ง แต่รัฐบาลของเขาก็มาจากการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม เช่นเดียวกับรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์
ในช่วงเวลากว่า 1 ทศวรรษของความขัดแย้งทางการเมือง ดูเหมือนกลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างค่อนข้างมั่นคง จนกระทั่งเธอพยายามที่จะผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทยได้โดยไม่มีความผิดผ่านรัฐสภา ทำให้ฝ่ายค้านมีพัฒนาการไปในทางที่สุดโต่งมากยิ่งขึ้น จากที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นนักประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมที่พยายามหาหนทางแก้ไขในสิ่งที่พ.ต.ท.ทักษิณก่อความผิดไว้ กลายมาเป็นกลุ่มที่พยายามจะจัดตั้งอำนาจเสียงข้างน้อยและเสาะหาหนทางที่จะขจัดพ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัวให้พ้นจากการเมือง
การต่อต้านวาระดังกล่าวควรจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความสัมพันธ์ทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงใกล้ชิดกับไทย ทว่านี่เป็นกรณีที่คล้ายกับอียิปต์เมื่อประชาชนพยายามที่จะจุดชนวนให้เกิดการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ที่ปฏิกริยาของสหรัฐอเมริกาต่อเรื่องนี้อ่อนแอมาก โดยโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกร้องเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ให้แก้ปัญหา "ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย" และยกย่องความอดกลั้นของรัฐบาลในการรับมือกับผู้ชุมนุม
รัฐบาลสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ประกาศอย่างชัดเจนต่อสาธารณะว่าการรัฐประหาร ไม่ว่าจะโดยกองทัพหรือกลุ่มผู้ประท้วงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้และจะส่งผลให้สหรัฐอเมริการะงับการให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือด้านความมั่นคง ซึ่งกฎหมายของสหรัฐอเมริกาให้อำนาจดังกล่าวไว้ แต่จากการที่ฝ่ายบริหารปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นภายหลังการรัฐประหารที่อียิปต์ กลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยอาจจะมีความเชื่อมั่นว่า การกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริการับได้ ซึ่งไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในอียิปต์ เนื่องจากชัยชนะของกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยรังแต่จะนำไปสู่ความรุนแรง
และความไร้เสถียรภาพเท่านั้น"
ที่มา http://www.matichon.co.th/
ผู้ว่าฯ ชุมพรไม่พอใจ 'กกต.' วอลค์เอาท์วงถกความพร้อม ลต.
-
[image: ผู้ว่าฯ ชุมพรไม่พอใจ 'กกต.' วอลค์เอาท์วงถกความพร้อม ลต.]
*ผู้ว่าฯ ชุมพร แสดงความเห็นไม่พอใจการทำหน้าที่ของ
กกต.และวอล์คเอาท์จากที่ประชุมหารือความ...
10 ปีที่ผ่านมา