ตราแผ่นดิน และตราหน้าหมวกตำรวจ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2416 โดยเรียกกันทั่วไปว่าตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม ซึ่งตราดังกล่าวนี้เป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินซึ่งใช้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยหรือกำกับนามผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่สำหรับตราหน้าหมวกตำรวจในปัจจุบันนั้น เริ่มใช้กันตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 โดยได้มีการนำ ตราแผ่นดินของรัชกาลที่ 5 มาลงอักษรคำว่า "พิทักษ์สันติราษฎร์" ไว้บนแพรริ้วใต้ตราแผ่นดินซึ่งก่อนหน้านั้นตราหน้าหมวกตำรวจได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงมาถึง 4 ครั้ง
ครั้งแรกเริ่มใน รัชกาลที่ 4 เป็นโลหะรูปช้างสามเศียร ยืนในตราอาร์ม มีอักษรจารึกว่า "พลตระเวณสยาม"
ส่วนตราหน้าหมวกรุ่นที่ 2 (ตำรวจนครบาล) และรุ่นที่ 3 (ตำรวจภูธร) เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2458 โดยของตำรวจนครบาลเป็นรูปเพชราวุธล้อมด้วยกลีบกนก ในขณะที่ตำรวจภูธรในยุคนั้นใช้หน้าหมวกเป็น ตราปทุมอุณาโลมบนพื้นสีแดงโดยมีบัวกนกสีน้ำตาลล้อมรอบ สำหรับหน้าหมวกตำรวจรุ่นที่ 4 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2478 เป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมรี มีปทุมอุณาโลมอยู่กลางกงจักรโดยรอบนอกกงจักรมีลายเพลิงส่วนในกงจักรมีอักษร "พิทักษ์สันติราษฎร์"
ดังนั้นตราหน้าหมวกในปัจจุบันที่ทำด้วยโลหะสีเงิน ดุนเป็นตราแผ่นดินและจารึกคำว่า พิทักษ์สันติราษฎร์นั้น จึงเป็นตราหน้าหมวกตำรวจรุ่นที่ 5 โดยในตราแผ่นดินจะมีพุทธภาษิตจารึกไว้ว่า
"สัพเพสัง สังฆะภูตานัง สามัคคี วุฑฒิสาธกา" ซึ่งแปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมยังความเจริญให้สำเร็จ อันเป็นพุทธภาษิตที่จำเป็น
สำหรับข้าราชการตำรวจ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อรวมกับตัวอักษร ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ จึงหมายถึง พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ
และภาระหน้าที่ตำรวจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน
สำหรับข้าราชการตำรวจ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่โดยอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อรวมกับตัวอักษร ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ จึงหมายถึง พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ
และภาระหน้าที่ตำรวจในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(หรือเดิมกรมตำรวจ)มีเครื่องหมายราชการเป็นรูปพระแสงดาบเขนและโล่ เป็นรูปวงกลมเส้นคู่สองชั้น วงนอกเป็นลายพรรณพฤกษา วงในเป้นลายใบเทศผูกลายเป็นรูปหน้าสิงห์หรือหน้ายักษ์เรียกว่าจตุรมุข ตามธรรมเนียมโบราณที่แกะสลักรูปหน้ายักษ์จตุรมุขไว้บนหน้าบันประตู ทั้งสี่ทิศของปราสาทหิน
ด้วยความเชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์ทวารเข้า-ออก ปกป้องคุ้มครองและขจัดสิ่งชั่วร้ายส่วน "ดาบ" ที่คาดติดอยู่ในปลอก มีลวดลายกนก ทั้งนี้สัญลักษณ์ไม่จำกัดสีและขนาด
ตำรวจไทยเกิดเป็นรูปแบบองค์กรครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้จัดตั้งองค์กรตำรวจและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เป็นระบบ แสดงความเป็นอารยะทัดเทียมตะวันตกโปรดให้ใช้สัญลักษณ์เป็นรูป "หนุมานสี่กร"
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 5 ได้พระราชทานเป็นพระราชหัตถเลขา อนุญาตให้กรมตำรวจภูธรใช้พระรูปพระแสงดาบเขนและโล่ ประจำที่มุมธงและใช้เป็นตราประจำกระดาษสำหรับราชการในกรมตำรวจภูธร เมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ.2445 ตราโล่เขนนี้ ออกแบบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2440 โดย หม่อมเจ้าประวิชชุมสาย (ผู้ผูกลายพระราชลัญจกรแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.2416)
ถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ดาบเขนและโล่ได้ปรากฏอยู่ในพระธรรมนูญตราที่โปรดเกล้าฯให้ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ.2453 ให้เป็นตราประจำกรมพลตระเวน (ต่อมา พ.ศ.2458 เปลี่ยนเป็นกรมพลตำรวจนครบาล)
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2445 เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชานุญาตใช้ตราประจำชาดสำหรับเจ้ากรมตำรวจภูธร เป็นรูปเทวดาเชิญพระแสงดาบเขนและพระแสงดาบเขนและโล่ ซึ่งจะใช้เป็นตราประจำตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูธร ตราประจำที่มุมธง และเป็นตราประจำเอกสารราชการสำหรับกรมตำรวจภูธร
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาต โปรดเกล้าฯให้ใช้ตราประจำชาติ เป็นรูปเทวดาเชิญพระแสงดาบใจเพชร สำหรับตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูธร
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ธงประจำตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินั้นใช้ประดับแท่นตรวจแถวกองเกียรติยศ เนื่องในโอกาสที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติขึ้นแท่นรับความเคารพหรือตรวจพลสวนสนาม
ใช้ประดับที่หน้ารถตรวจพลสวนสนามและใช้เป็นตราประทับแทนตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
หมายเหตุ
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2475 ได้มีประกาศให้เปลี่ยนตราตำแหน่งในกรมตำรวจจากเดิม ให้ใช้ชื่อใหม่เป็น อธิบดีกรมตำรวจ
ส่วนรูปตราคงเดิม ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ.2541 ส่งผลให้ชื่อ "กรมตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ตำแหน่ง "อธิบดีกรมตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"
ขอบคุณข้อมูลจาก
กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่วนรูปตราคงเดิม ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ.2541 ส่งผลให้ชื่อ "กรมตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ตำแหน่ง "อธิบดีกรมตำรวจ" เปลี่ยนเป็น "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"
ขอบคุณข้อมูลจาก
กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ